The Power of Gardening Environment เชื้อเพลิงอัดเม็ด มีองค์ประกอบและกระบวนการผลิตเป็นอย่างไร

เชื้อเพลิงอัดเม็ด มีองค์ประกอบและกระบวนการผลิตเป็นอย่างไร

เชื้อเพลิงอัดเม็ด

เชื้อเพลิงที่เป็นแบบอัดเม็ดสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลายซึ่งปัจจุบันมีโรงงานสำหรับผลิตเชื้อเพลิงอัดเม็ด โดยเฉพาะ ด้วยความที่ฟืนสำหรับการให้ความร้อนนั้นลดลงเรื่อย ๆ จากการใช้งานที่ต่อเนื่อง และฟืนคือทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดไป หากเปลี่ยนมาใช้เชื้อเพลิงแบบอัดเม็ดก็จะประหยัดอีกทั้งได้ปริมาณที่เยอะกว่า บทความนี้จะมาพูดถึงเชื้อเพลิงแบบอัดเม็ดว่ามีองค์ประกอบอะไรบ้าง แล้วมีการผลิตอย่างไร 

เชื้อเพลิงอัดเม็ด มีองค์ประกอบชีวมวลอะไรบ้าง 

สำหรับองค์ประกอบของชีวมวลหรือเชื้อเพลิงอัดเม็ดนั้น จะสามารถแบ่งได้ 3 ส่วน แต่ละส่วนก็จะมีลักษณะที่ไม่เหมือนกัน นั่นคือ ส่วนที่สามารถเผาไหม้ได้ ซึ่งส่วนนี้ก็แบ่งย่อยออกได้ 2 ส่วน ได้แก่ คาร์บอน และสารระเหย, ส่วนที่ไม่สามารถเผาไหม้ได้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ขี้เถ้า ส่วนนี้จะเกิดขึ้นมาหลังจากเผาไหม้ชีวมวลโดยสมบูรณ์ แต่ละประเภทของชีวมวลก็มีปริมาณและสัดส่วนของเถ้าที่ไม่เท่ากัน และสุดท้ายคือความชื้น เป็นส่วนที่เกิดขึ้นมาจากน้ำปริมาณหนึ่งภายในชีวมวล 

การผลิต เชื้อเพลิงอัดเม็ด มีกระบวนการอย่างไร 

การผลิตชีวมวลหรือเชื้อเพลิงอัดเม็ดจะมีกระบวนการต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดเป็นเชื้อเพลิงชนิดอัดเม็ดขึ้นมา โดยสามารถกล่าวได้ดังนี้ 

  • เตรียมวัตถุดิบ เป็นการเตรียมขนาดของวัตถุดิบที่เหมาะสมก่อนจะนำไปสู่การสับละเอียดหรือสับหยาบในกระบวนการอัดเม็ด 
  • การลดความชื้น เป็นการทำให้วัตถุดิบมีความชื้นลดลงจนเหมาะสมที่จะเข้าไปสู่กระบวนการอัด วัตถุดิบควรมีความชื้นอยู่ที่ 10 เปอร์เซ็นต์ มากสุดไม่เกินไปกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ 
  • การบดจนละเอียด เป็นการอบไล่ความชื้นของวัตถุดิบแล้วคัดเอาโลหะหรือก้อนหินที่ปะปนออกมาเพื่อไม่ให้เครื่องบดเกิดความสึกหรอหรือเสียหาย รวมถึงเครื่องอัดเม็ดและเครื่องย่อยก็ด้วยเช่นกัน 
  • การผสม เป็นการนำวัตถุดิบตั้งแต่ 2 ชนิดมาผสมคลุกเข้าจนเข้ากัน 
  • การระบายความร้อน เป็นการนำเชื้อเพลิงชีวมวลซึ่งอยู่ในรูปแบบของเม็ดมาระบายความร้อน ส่งผลให้อุณหภูมิของชีวมวลหรือเชื้อเพลิงแบบเม็ดเย็นลง ทำให้เม็ดเชื้อเพลิงคงทน คงรูป และแข็ง 
  • การคัดขนาดและการบรรจุ เป็นการนำขนาดต่าง ๆ ของเชื้อเพลิงแบบอัดเม็ดมาคัดกรอง โดยเอาเม็ดที่ไม่มีคุณภาพตรงตามมาตรฐานออก หลังจากนั้นก็บรรจุชีวมวลหรือเชื้อเพลิงแบบอัดเม็ดเข้าบรรจุภัณฑ์ 

จะเห็นว่าเชื้อเพลิงอัดเม็ดมีองค์ประกอบทางชีวมวลที่ต่างกันซึ่งล้วนมาจากธรรมชาติ การนำเชื้อเพลิงหรือชีวมวลแบบอัดเม็ดนี้มาใช้งานแทนฟืนถือได้ว่าประหยัดทรัพยากรธรรมชาติได้อีกมาก แล้วยังเป็นการเอาของเหลือมาทำให้เกิดประโยชน์ทุกภาคส่วน เพราะเชื้อเพลิงแบบอัดเม็ดนี้ทำมาจากเศษเหลือทางการเกสรนั่นเอง นอกจากนี้คุณผู้อ่านก็จะได้รู้เรื่องกระบวนการผลิตของเชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ดอีกด้วย

Related Post

ไอเทมรักษ์โลก ใช้แล้วเท่แถมลดโลกร้อนไอเทมรักษ์โลก ใช้แล้วเท่แถมลดโลกร้อน

กระแสเรื่องขยะและภาวะโลกร้อน เป็นประเด็นที่คนให้ความสนใจอย่างมาก หลายคนเริ่มหันมาใส่ใจประเด็นนี้มากขึ้น หลีกเลี่ยงการสร้างขยะจากกิจกรรมมากขึ้น ลดการใช้พลาสติกมากขึ้น และหันมาใช้อุปกรณ์ที่ไม่สร้างขยะ วันนี้เราเลยมี 5 ไอเทมที่ช่วยรักษ์โลก ช่วยลดโลกร้อน เพื่อให้ทุกคนไม่ตกเทรนด์ กระเป๋าผ้าถือเป็นไอเทมสำคัญสำหรับคนรักโลก เพราะมีการรณรงค์การใช้ถุงผ้าในประเทศไทยมาสักพักแล้ว โดยแนะนำให้ใช้ถุงผ้าแทนการใช้ถุงพลาสติก ช่วยลดการใช้ถุงพลาสติกลงไปได้เยอะ เพราะส่วนใหญ่แล้วจะใช้ถุงพลาสติกครั้งเดียวและทิ้ง แต่ถุงผ้าสามารถใช้ซ้ำได้หลายรอบ แถมยังมีลวดลายหลายแบบ ทั้งหนาบางมีให้เลือก ออกแบบให้พกพาง่าย แต่ทั้งนี้ก็ไม่ควรมีถุงผ้าหลายอันเกินความจำเป็น เพราะกระบวนการผลิตถุงผ้าก็เป็นต้นเหตุให้เกิดภาวะโลกร้อน สำหรับใครที่เป็นคอกาแฟ สายน้ำดื่ม แล้วต้องการลดปริมาณขยะพลาสติกอย่างแก้วพลาสติก ขวดน้ำพลาสติก การพกขวดน้ำ แก้วน้ำพกพาก็ช่วยได้ โดยขวดน้ำพกพาก็มีหลายแบบให้เลือก มีทั้งขวดพลาสติกธรรมดา

พลังความร้อนร่วม

พลังความร้อนร่วมดีต่ออนาคตยังไง และมีประโยชน์ที่โดดเด่นยังไงพลังความร้อนร่วมดีต่ออนาคตยังไง และมีประโยชน์ที่โดดเด่นยังไง

พลังความร้อนร่วม (CHP) หรือที่เรียกว่าโคเจนเนอเรชั่น เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงในการผลิตไฟฟ้าและพลังงานความร้อนพร้อมกันจากแหล่งเชื้อเพลิงเดียว ระบบ CHP สามารถทำงานได้ด้วยการใช้แหล่งเชื้อเพลิงต่าง ๆ รวมถึงก๊าซธรรมชาติ ชีวมวล ถ่านหิน

Save our Planet

วิธีการอนุรักษณ์สิ่งแวดล้อมและลดปัญหาการก่อเหตุทำลายทรัพยากร2019วิธีการอนุรักษณ์สิ่งแวดล้อมและลดปัญหาการก่อเหตุทำลายทรัพยากร2019

1.การรู้จักคุณค่าของทรัพยากร คือ การใช้ทรัพยากรให้เป็นประโยชน์และมีประโยชน์มากที่สุดไม่ใช้ทรพยากรโดยสิ้นเปลือง 2.ลดการใช้ถุงพลาสติกใช้ถุงผ้าหรือนำกลับมาใช้ซ้ำ คือ การลดการใช้ถุงพลาสติกเพราะถุงพลาสติกนั้นคนส่วนใหญ่นิยมใช้และทิ้งการทำลายนั่นก็คือการเผาทำให้เกิดภาวะโลกร้อนได้ง่าย การลดใช้ถุงพลาสติกก็คือ เปลี่ยนจากการซื้อของไกล้บ้านที่เคยใส่ของด้วยถุงพลาสติกมาใช้เป็นถุงผ้าแทน สามารถใช้ได้ทุกวัน ช่วยลดทรัพยากรที่ไม่จำเป็นต่อการใช้งานอีกด้วย 3.การอนุรักษณ์ท่อระบายน้ำ/ลำคลอง คือ การดูแลบำบัดน้ำเน่าเสีย ส่วนใหญ่มักจะเป็นกลุ่มพวกโรงงานหรืออุตสาหกรรมต่าง ๆต้องมีการบำบัดน้ำเน่าเสียที่ใช้ภายในโรงงานนั้นให้ดีที่สุดเสียก่อนก่อนจะปล่อยระบายสู่ลำคลองหรือระบบนิเวศเพื่อรักษาคุณภาพของน้ำไม่ให้สกปรกจนเกินไปและลดการทิ้งขยะหรือโยนลงที่แม่น้ำอื่น ๆ 4.การพัฒนาคุณภาพของบุคคล คือ การที่จะอนุรักษณ์สิ่งแวดล้อมได้จะต้องมีความร่วมมือจากมนุษย์หรือคนทั่วไปที่เป็นคนทำลายให้มี่ความรู้ด้านการดูแลและช่วยกันรักษาทรัพยากรไม่ให้หมดไปด้วยวิธีการ เช่น การประชุม หมู่บ้าน ลูกบ้าน หากเป็นลำคลองมักจะเป็นการประกาศด้วยการเดินขบวนประชาสัมพันธ์โดยใช้สื่อกลาง ต่าง ๆอาจจะขอความร่วมมือจากทางคณะอาจารย์โรงเรียนให้นำนักเรียนเดินประกาศประชาสัมพันธ์ในบริเวณใกล้ ๆ 5.ส่งเสริมให้คนทุกกลุ่มดูแลสิ่งของที่ต้องใช้หรือระบบนิเวศ ข้าวของเฟอร์นิเจอร์สิ่งของจำเป็นให้มีสภาพที่ดีและคงเดิมไว้ให้นานที่สุด ไว้เป็นการลดการใช้ทรัพยากรสิ่งของที่ไม่จำเป็นต่อชีวิตประจำวัน